หน้าแรก » สายมู-ความเชื่อ » ประวัติพระพิฆเนศ

ประวัติพระพิฆเนศ

เล่าขานตำนานเทพ ประวัติความเป็นมาของเทพเจ้า
ประวัติพระพิฆเนศ

ประวัติพระพิฆเนศ

พระพิฆเนศ ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง) คนไทยเราที่นับถือศาสนาพราหมณ์และคนส่วนใหญ่ ถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะองค์บรมครูแห่งศิลปะวิทยาการ 18 ประการโดยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล

พระพิฆเนศวรเป็นโอรสของพระอิศวรและพระอุมาเทวี มีรูปกาย เป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นข้าง ทุกคนเคารพนับถือท่านในฐานะที่ท่านเป็นวิฆเนศ” นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรคที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายถึงท่านเป็นเทพเจ้าแห่ง “ความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง”

เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญลักษณ์ ที่รูปกายที่อ้วนพีนั้นมี ความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นข้างมีความหมาย หมายถึง ผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมองแยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณาที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมีพาหนะคือ หนูซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิดที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจของตนเอง

การบูชามหาเทพของฮินดูนั้นก่อนจะบูชาเทพทุกพระองค์ต้องบูชาพระพิฆเนศก่อนเสมอ เพราะท่านเป็นผู้ที่ได้รับพลังอำนาจมาจากพระศิวะและพระแม่อุมาเทวีให้สามารถจัดการกิจการทุกอย่างแทนพระองค์ได้ทุกเรื่อง และพระพิฆเนศเป็นเทพที่ใจดีมีเมตตาขอพรความสำเร็จได้ทุกอย่าง อีกทั้งทรงเป็นผู้มีปัญญาฉลาดเฉลียวใครขออะไรก็ให้ได้ในสิ่งที่ดีงาม

ความสำคัญของพระพิฆเนศถือว่าเป็นเทพองค์สำคัญที่สุดที่ขาวไทยให้ความเคารพบูชา ตามประวัติแล้วมีความเกี่ยวพันกับสังคมไทยมาและมีการบูชากันอย่างแพร่หลายที่สุด มีรูปเคารพปรากฏให้บูชาอยู่มากที่สุดในบรรดาองค์เทพทั้งปวง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาความเชื่อในศาสนาฮินดูมีความสำคัญในราชสำนักของกรุงศรีอธุยาอย่างมาก จากที่เห็นได้ชัดคือมีตำแหน่งปุโรหิตและพราหมณ์ที่หอหน้าในพระราชวัง

สำหรับพระพิฆเนศนั้นมีหลักฐานปรากฏว่ามีการหล่อองค์พระพิฆเนศขึ้นมา และมีผู้ให้การนับถือท่านในฐานะที่เป็น “ครูข้าง” เพราะในสมัยนั้นมีเรื่องของ “คชกรรม” คือการจับช้างเผือกมาถวายพระมหากษัตริย์เป็นอันมาก

นอกจากนี้ยังมีเทวรูปพระพิฆเนศสำริดขนาดใหญ่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์บริเวณเสาชิงช้า หรือเทวรูปพระพิมเนศที่ทำจากศิลาที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติในพระราชวังจันทร์เกษม ก็ถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน

ในสมัยช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือช่วง 4 รัชกาลแรก มีภาพเขียนพระพิฆเนศปรากฎอยู่ในวัดของพระพุทธศาสนานั่นก็คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม และวัดบวรสถานสุทธาวาส นอกจากนั้นยังมีภาพแกะสลักประตูที่วัด เป็นเพลงวิปัสสนาบางกอกน้อย เรื่องนารายณ์สิบปางโดยมีที่มาจากตำราภาพเทารูปและเทวดานพเคราะห์ซึ่งเป็นภาพลายเส้นรูปเทพเจ้า โดยมีต้นแบบจากช่างของกรุงศรีอยุธยา โดยมีหลักฐานปรากฏทางเอกสาร โดยเฉพาะพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 เรื่อง “นารายณ์สิบปาง”

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ก็ทรงให้ความนับถือพระพิฆเนศอยู่ไม่น้อยทีเดียว โดยเมื่อครั้งเสด็จประพาสขวาทรงนำพระพิฆเนศขนาดใหญ่กลับมาประเทศไทยในครั้งนั้นด้วย ซึ่งปัจจุบันเทวรูปพระพิฆเนศนั้น

จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พระราชประวัติของรัชกาลที่ 5 มีความเกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศอยู่ด้วย กล่าวคือ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้พระนามครั้งแรกว่า “กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ” และได้รับพระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศจากลันเกล้ารัชกาลที่ 4 ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมขุนประชารถพินิต” เพราะพระองค์ไม่ได้นับถือพระพิฆเนศในฐานะเจ้าแห่งศิลปะวิทยา แต่ทรงนับถือพระสุรัสวดีแทน เพราะเป็นความเชื่อที่ตกทอดมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงเริ่มสนพระทัยในการนับถือพระพิฆเนศในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยาอย่างจริงจัง เนื่องจากพระองค์เป็นผู้มีความสามารถในด้านการประพันธ์ ทรงเป็นกวีนิพนธ์และเชี่ยวชาญด้านศิลปศาสตร์ จึงทรงให้การยกย่องพระพิฆเนศเป็นพิเศษ

โดยทรงนำคุณสมบัติที่เป็นของพระสุรัสวดีแต่เดิมมาผนวกรวมกับองค์พระพิฆเนศ โดยโปรดให้สร้างเทวาลัยพระพิฆเนศขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ณ พระราขวังสนามจันทร์ จ. นครปฐม และได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศสำหรับการศึกษาในด้านนาฏศิลป์และยังได้พระราชทานพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันทางศิลปวิทยา เช่น กรมศิลปากร เป็นต้น

          พระพิฆเนศเป็นเทพเจ้าที่มีลักษณะเด่นที่มีการบ่งบอกความหมายอันดีงามตามลักษณะต่างๆ  คือ

         เศียรเป็นข้าง โดยมีตั้งแต่ 1 เศียรหรือพระพักตร์เดียวไปจนถึง 2-5 เศียร โดยปางที่มีถึง 5 เศียรคือปางเหรัมภะ อันมีความหมายถึงความซื่อสัตย์ มีสติปัญญา ส่วนที่ปรากฎในไทยมักสร้างให้มีเศียรเดียว

          มีงาเดียวหรืองาหักแสดงถึงความสามารถในการแยกแยะสิ่งสองสิ่งในโลกว่ามีสิ่งตรงกันข้ามคือ มีความดีความชั่ว รู้ความเย็น ความร้อน การเคารพหรือดูหมิ่น ความซื่อสัตย์และคดโกง

          สีกายของพระองค์นั้นจะทั้งสีแดง เหลือง ขาว น้ำตาลปนแดง ทอง น้ำเงิน และสีดำ เป็นต้น แต่ไม่ใช้สีเขียวซึ่งเป็นสีของพระอินทร์

          ดวงตาขององค์พระพิฆเนศส่วนใหญ่จะมีเพียงสองตา ส่วนตาที่ 3 บริเวณหน้าผากนิยมใช้ในลัทธิตันตระซึ่งเป็นของทิเบต มักใช้เปลวไฟเป็นสัญลักษณ์แทน ซึ่งดวงตามักทำให้มีขนาดเล็กแสดงถึงการแยกแยะสิ่งถูกผิด

          หูที่ยานใหญ่ หมายถึง ความเฉลียวฉลาดมีความสามารถในการรับฟังและพิจารณาต่อผู้คนที่มาขอความช่วยเหลืออย่างยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ใช้รับฟังคำสวดจากพระคัมภีร์และความรู้ต่างๆ เป็นสิ่งแรกที่จะประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาหาความรู้

          งวงที่ยาวและใหญ่ หมายถึง การใช้ชั่งน้ำหนักต่อการกระทำหรือการค้นหาในสิ่งที่ดีงามเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาให้หลุดพ้นจากอุปสรรคและพบกับความสำเร็จได้ดังใจหมาย

          ลำตัวสองลอนและมีท้องที่มีขนาดใหญ่ หมายถึง จักรวาลอันกว้างใหญ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์จะรับความโศกเศร้าของมนุษย์ มีรูปกายสง่างามเป็นมนุษย์ พระวรกายเป็นสีแดงคาดสายรัดที่ท้องเป็นงูแผ่พังพาน นุ่งห่มอาภรณ์สีแดงขลิบขาวและประทับนั่งไขว้เท้า ข้างหนึ่งอยู่เหนือพื้นเพื่ออีกข้างอยู่บนพื้นแสดงถึงความสำคัญของการมีชีวิตอยู่และการมีส่วนร่วมทั้งด้านจิตวิญญาณ

          งูใหญ่ที่รัดเอว ตามความหมายแล้วเป็นการประทานทรัพย์สินเงินทองและโชคลาภเป็นการทำให้ครอบครัวของผู้บูชาอยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่นมั่นคง

เว็บไซต์ หวยเลขเด็ด ได้นำข้อมูลเรื่องราวประวัติของพระพิฆเนศมาให้ทุกคนได้อ่าน จะเป็นประโยชน์รวมถึงเรื่องราวที่สนุกสนานต่าง ๆ ที่อ่านง่ายจะทำให้คุณผู้อ่านเข้าใจเรื่องเทพเจ้าว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดและไม่ได้บูชายากดังที่หลายคนเข้าใจ

อ้างอิงโดย : หนังสือ เล่าขานตำนานเทพ บูชาถูกวิธี ชีวิตนี้มีแต่รุ่งกับรวย (จิตตวชิระ)

ดูดวงรายเดือน 12 ราศี ประจำเดือน ตุลาคม ดวงคุณเป็นอย่างไร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *